http://www.4life-today.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก4life-today

 ติดต่อเรา

ผลวิจัย ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ลดอนุมูลอิสระ

ผลวิจัย ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ลดอนุมูลอิสระ

 

เผยแพร่เชิงวิชาการ

ผลของ Transfer Factor Riovida ในการช่วยลดอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างอินเตอร์ลิวคิน-ทู ในคนหลังออกกำลังกายอย่างหนัก

 

 โดย ดลรวี ลีลารุ่งระยับ  นักวิจัยอิสระ และทีมงาน

        วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิด Transfer factor Riovida ต่อภาวะออกซิเดทีฟสเตรทและอินเตอร์ลิวคิน-ทู โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครเพศชายอายุเฉลี่ย 18.5+1.5 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง ได้แบ่งระยะศึกษาออกเป็นช่วงควบคุมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และช่วงที่ได้รับประทาน ริโอวิด้า เป็นจำนวน 60 ซีซีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกัน 14 วัน และทำการเจาะเลือดเป็นจำนวน 3 ครั้งคือ ในช่วงควบคุม 2 ครั้งและหลังจากที่รับประทานริโอวิด้าครบ 14 วันแล้ว โดยก่อนการเจาะเลือดทุกครั้ง จะให้อาสาสมัครวิ่งจนกระทั่งเหนื่อยจนทนไม่ไหว จะนำเลือดมาตรวจวัดตัวแปรภาวะออกซิเดทีฟสเตรสได้แก่ สารที่ถูกทำลายจากไขมันหรือมาลอนไดออลดีไฮด์ สารอนุมูลอิสระชนิดไนตริกออกไซต์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยรวมและ ปริมาณของอินเตอร์ลิวคิน-ทู    

      ผลการศึกษาพบว่าการใช้ริโอวิด้าเป็นระยะเวลา 14 วันอย่างต่อเนื่อง พบว่าสามารถช่วยป้องกันไขมันในร่างกายไม่ให้ถูกทำลายและลดการปล่อยสารอนุมูลอิสระไนตริกออกไซต์ และสำคัญ ยังพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยรวมและปริมาณของอินเตอร์ลิวคิน-ทู มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเปรียบเทียบกับช่วงที่ไม่ได้รับประทานริโอวิด้า           

      สรุปผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ริโอวิด้า สามารถช่วยลดภาวะออกซิเดทีฟเสตรสและเพิ่มปริมาณของอินเตอร์ลิวคิน-ทู ในร่างกายคนได้

      งานวิจัยนี้ได้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 

   อนุมูลอิสระ (Free radical)  

     อนุมูลอิสระ(Free radical) เป็นโมเลกุลหรืออิออนที่มีอิเลคตรอนโดดเดี่ยวอยู่รอบนอกและมีอายุสั้นมาก จัดเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรและมีคุณสมบัติเฉพาะคือ มีความไวสูงในการเกิดปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นๆ อนุมูลอิสระที่มีความสำคัญทางชีวภาพ ได้แก่ อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์แอนอิออน (O2 ) อนุมูลไฮดรอกซี (OH°) อนุมูลอัลดอกซี (RO°) และอนุมูลเปอร์ไฮดรอกซี (HO2 °) อนุมูลอิสระเหล่านี้จัดเป็นอนุมูลที่ไวในการเกิดปฏิกิริยาสูงมากและในขณะที่ไนตริกออกไซด์ (NO) หรืออนุมูลไนตริกออกไซด์ (NO°)

      อนุมูลอิสระชนิดต่างๆ ที่มากเกินไป จะทำอันตรายต่อไมโตคอนเดีย เกิดการทำลายโครงสร้างต่างๆ ในร่างกายได้แก่ ไขมัน (Lipid peroxidation) (Yagi 1992) หากเกิดที่อวัยวะที่สำคัญเช่น สมอง ไต หัวใจ ก็จะส่งผลทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม (Degenerative diseases ) นอกจากนี้ยังไปทำลายโปรตีน (Protein oxidation)  จะทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ของเอนไซม์ในระบบทางเดินหายใจ  และถ้ามีการทำลาย β-cells ที่ตับอ่อน ก็จะส่งผลทำให้เกิดโรคเบาหวานทั้งชนิดที่หนึ่งและสอง (Diabetes type I&II) นอกจากนี้ยังทำให้ไมโตคอนเดียทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงาน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคพากินสัน (Parkinson's diseases) โรคความจำเสื่อม (Alzheimer's diseases) โรคของระบบประสาทยนต์ เช่น Multiple sclerosis (MS) และยังทำให้เกิดโรคในระบบอื่นๆ อีก เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ หรือ อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานล้มเหลวเป็นต้น  การสร้างสารอนุมูลอิสระในไมโตคอนเดรีย ยังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์ของยีนส์ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในระบบหายใจ (Rosario และคณะ, 2006) เช่น โรคหอบหืด (Asthma), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรง (Chronic obstructive disease; COPD), โรคมะเร็งปอด (Lung cancer) หรือโรคทางหลอดเลือดและหัวใจ (Sofian และคณะ, 2006) เป็นต้น และยังอาจส่งผลทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติได้อีก อาทิ โรคทางพันธุกรรม โรคมะเร็ง อัมพาต และโรคอื่นๆ  นอกจากอนุมูลอิสระที่มากเกินไป มีผลต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายแล้ว ยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย คือทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune diseases) ซึ่งพบบ่อยได้แก่ Systemic lupus erythematosus (SLE) และRheumatoid arthritis (RA) (Jun และคณะ, 1999) เป็นต้น

     อนุมูลอิสระชนิดไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) (Endo และคณะ, 1994) เป็นสารที่หลั่งออกมาจากการทำงานของเอนไซม์ Nitric oxide synthase (NOS) ที่อยู่ในผนังหลอดเลือดและในกล้ามเนื้อ ถึงแม้นว่าสารไนตริกออกไซด์มีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยควบคุมการขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น ส่งผลทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่หากมากเกินไปก็อาจให้เกิดผลเสียเช่นเดียวกับสารอนุมูลอิสระอื่นๆ

     สารต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (Total antioxidant capacity) เป็นสารแอนตีออกซีแดนท์ (Antioxidant)  ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระโดยตรง  เพื่อกำจัดอนุมูลให้หมดไป หรือปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้ดำเนินต่อได้ สารต้านอนุมูลอิสระที่มีตามธรรมชาติ  เช่น  กรดยูริค  บิลิรูบิน  จะทำหน้าที่ในการกำจัดอนุมูล  ส่วนวิตามินซี  วิตามินอี  กลูตาไทโอน เบตาแคโรทีน  และยูบิควิโนน  จะหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของการเกิดอนุมูล   ภายในร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่  3  กลุ่ม ด้วยกันได้แก่ 1) กลุ่มที่เป็นเอนไซม์ (Enzyme Antioxidant)  เอนไซม์ที่อยู่ในพลาสมาในเลือดที่ทำหน้าที่นี้ประกอบด้วย  Superoxide Dismutase (SOD), Catalase, Glutathione peroxidase (GSH-Px), Glutathione Reductase เป็นต้น  2) กลุ่มที่เป็นโปรตีน ได้แก่ โปรตีนที่จับโลหะหรือธาตุให้อยู่ในโครงสร้าง  เช่น Ceruloplasmin และโปรตีนที่มีกลุ่มซัลไฟด์เป็นส่วนประกอบ  เช่น  อัลบูมินในเลือด และ 3) กลุ่มที่เป็นสารโมเลกุลขนาดเล็ก มีทั้งที่ละลายน้ำ (Water soluble antioxidant) ได้แก่ วิตามินซี น้ำตาล กรดยูริค กลูตาไทโอน และชนิดที่ละลายไขมัน (Lipid soluble antioxidant) ได้แก่ วิตามิน E หรือแคโรทีนอยด์ เป็นต้น (Davies 1995; Gluliani 1997)   

     การออกกำลังกายอย่างหนัก (Siodin และคณะ, 1990) ในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น  เป็นการออกกำลังกายค่อนข้างหนักและนาน  อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมีมากถึง 20% เกินความสามารถของระบบต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย  จึงทำให้ปริมาณอนุมูลอิสระเหลือมากพอที่จะทำลายเซลล์ต่างๆได้  และยังทำปฏิกิริยาลูกโซ่ให้เกิดอนุมูลอิสระอื่นๆ  เช่น  จากไขมัน Lipid peroxidation และจากโปรตีน (protein oxidation) เพิ่มมากขึ้นไปอีก   การออกกำลังกายหนักเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายเกิดกระบวนการอักเสบขึ้นในร่างกายได้ การอักเสบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ ขณะออกกำลังกาย (Armstrong และคณะ, 1991) เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกระตุ้นให้ T-cell ผลิตโปรตีน Interleukin 1,2 เพื่อช่วยระงับสารกระตุ้นการอักเสบที่เกิดขึ้นได้

กระบวนการติดเชื้อและการอักเสบ กับ IL-2 : Interleukin 2 เป็นไกลโคโปรตีนที่มีน้ำหนักกโมเลกุลเท่ากับ 15,000 dalton เป็นสารที่มีผลกระตุ้นต่อการทำงานและการเจริญเติบโตของ T-cell ซึ่ง IL-2 นี้ผลิตจาก CD4+ และ CD8+ T cells เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแปลกปลอม(Antigen)  จะทำให้T-Lymphocytes (โดยเฉพาะ CD4+) จะตอบสนอง โดยการสร้าง IL-2 ออกมาซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคและหายจากโรคได้  โดย IL-2 สามารถทำให้ Lymphocytes แบ่งตัวเพิ่มจำนวนและเกิดพัฒนาการเจริญเติบโตจนถึงขั้นสุดท้าย  ดังนั้น IL-2 จึงสามารถช่วยระงับกระบวนการติดเชื้อหรืออักเสบได้ในที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นระบบคุ้มกันในร่างกายแบบจำเพาะเจาะจงต่อสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคนั้นๆ (Zhendong 2007)

    

     ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Riovida Transfer factor เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบหลายประการ เช่น น้ำองุ่น (grape juice) มีสารออกฤทธิ์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant function) (Ariga, 2004) โดยเป็นกลุ่มของโพลีฟีนอย (polyphenols) โดยเฉพาะ Proanthocyanidins  โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าวิตามิน-ซี และ วิตามิน-อี มาก 

      น้ำเบอรี่ (Berry juice) (Seeran, 2008) เป็นน้ำผลไม้ชนิดหนึ่งที่คัดได้จากผลไม้เบอรี่ ที่ปลูกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีหลายพันธ์มาก ได้แก่ blackberry (Rubus spp.), black raspberry (Rubus occidentalis), blueberry (Vaccinium corymbosum), cranberry, red raspberry (Rubus idaeus) และ strawberry (Fragaria x ananassa) ซึ่งสารออกฤทธิ์ยังคงเป็นกลุ่ม Polyphenol ได้แก่ Anthocyanins, Phonolic acids, flavonol glycosides และ Flavan-3-ols (Fang และคณะ, 2009).

น้ำทับทิม (Pomegranate juice) ได้มีการศึกษาผลของน้ำทับทิมพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่สูงกว่าน้ำเอบเบิล (apple juice) โดยมีออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ Punicalagin และ Ellagic acid (EA) จึงทำให้น้ำทับทิมสด จะทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง (Seeram และคณะ, 2005)

     

      จากงานวิจัยมากมาย พบว่าที่น่าสนใจคือ งานวิจัยของ Sacheck และคณะ (2003) ได้ทำการศึกษาผลของวิตามิน-อี ต่อภาวะออกซิเดทีฟสเตรส ในกลุ่มคนปกติ เพศชาย อายุ 26.4 ± 3.3 ปี จากการออกกำลังกายแบบ Eccentric exercise เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยลดปริมาณ Creatine kinase (CK) แต่ไม่ได้ลดปริมาณ Malondialdehdye และงานวิจัยของSchoen และคณะ (2009) ได้ศึกษาผลของอาหารหมักที่ประกอบด้วยผลไม้ ถั่วและผัก ในคนสุขภาพแข็งแรงเพศชาย จำนวน 20-48 ปี จำนวน 48 ราย โดยให้รับประทานเป็นจำนวน 2 ครั้งต่อวัน เป็นจำนวนติดต่อกัน 4 สัปดาห์ พบว่า สามารถช่วยลดปริมาณ Lipid peroixdation และเพิ่มปริมาณ glutathione ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte, monocytes และกระตุ้นการทำงานของ NK-cells ที่กระตุ้นด้วย IL-2 เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม  รวมไปถึงงานวิจัยของ Guo และคณะ (2008) ได้ทำการศึกษาผลของการรับประทานน้ำทับทิม ในปริมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ในผู้สูงอายุ จำนวน 26 รายพบว่าสามารถช่วยเพิ่มฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (Total antioxidant) และลดปริมาณโปรตีนที่ถูกทำลาย (Protein carbonyl) ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มเปรียบเทียบกับน้ำแอปเบิล

       ดังนั้นจากที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ทำให้เป็นจุดสนใจอย่างยิ่งในการศึกษา เพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของ Riovida Transfer factor4 ในการทำหน้าที่ในการลดอนุมูลอิสระและต่อการเปลี่ยนแปลงของ IL-2 ในร่างกายคนที่มีภาวะออกซิเดทีฟสเตรสเกิดขึ้นจากการวิ่งอย่างหนักในระยะสั้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกในการดูแลสุขภาพต่อไปได้

                                                               ขั้นตอนการศึกษา 

   กลุ่มอาสาสมัคร    เพศชาย อายุ 18.5+1.5 ปี สุขภาพแข็งแรง

   ระยะเวลาศึกษา   ระยะควบคุม 1 สัปดาห์ และระยะศึกษา (รับประทาน ริโอวิด้า) 2 สัปดาห์

   ผลิตภัณฑ์          RiovidaTM, 4Life Transfer factor®, USA (อย 10-3-10449-1-0004)

                         ปริมาณ  60 ซีซีต่อครั้ง 3 วันต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 14 วัน

   จำนวนครั้ง         ประเมิน 3 ครั้ง ก่อนใช้ริโอวิด้า 2 ครั้ง และหลังใช้ริโอวิด้า 1 ครั้ง

                         ก่อนเจาะเลือดทุกครั้ง จะให้วิ่งบนสายพานอย่างหนักจนเหนื่อยล้า

                         ตามโปรแกรม ACSM, 2006)   

   ตรวจวัดสาร        อนุมูลอิสระชนิดไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide;NOx) (Griess reagent)

                         ไขมันที่ถูกทำลาย (Malondiladehye หรือ MDA) (TBARs) (Chirico, 1994)

                         ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (Total antioxidant capacity; TAC) (Re และคณะ1991)

                         อินเตอร์ลิวคิน ทู (Interleukin 2; IL-2) (ELISA kit) (R&D systems Europe, Ltd.UK)  

  วิเคราะห์ผล          Repeated measurement (SPSS)

ผลการศึกษา (Results)

    ผลการศึกษาในช่วงก่อนการรับประทาน Riovida Transfer factor4 พบว่า ปริมาณของสาร MDA, NO, TAC และ TEAC หลังจากให้ออกกำลังกายอย่างหนักไปมีค่าไม่แตกต่างกัน หลังจากที่ได้รับประทาน Riovida ไปแล้วเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าหลังจากให้ออกกำลังกายอย่างหนักไปแล้ว ค่า MDA และ NOx มีค่าเพิ่มขึ้นน้อยกว่า

 

ตารางที่  1.  แสดงการเปรียบเทียบค่า MDA, NO, TEAC และ IL-2

ตัวแปร

ปริมาณในขณะพัก

หลังการออกกำลังกายอย่างหนักก่อนการรับประทาน Riovida ห่างกัน 1 สัปดาห์    

หลังการออกกำลังกายอย่างหนัก หลังการรับประทาน Rioivda ไปแล้ว 2 สัปดาห์

MDA (µmol/L)

1.56 ± 0.45

3.65 ± 0.25 *

3.51 ± 0.65 *

2.11 ± 0.34

NOx (µmol/L)

21.25 ± 1.23

28.98 ± 2.12 *

30.12 ± 2.42 *

24.05 ± 1.65

TAC (mmol Trolox/L)

1.13 ± 0.087

0.56 ± 0.023 *

0.52 ± 0.011 *

2.12 ± 0.098

IL-2 (pg/ml)

1.65 ± 0.65

0.76 ± 0.11 *

0.86 ± 0.15 *

2.85 ± 0.13

* p < 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงขณะพัก และ † p < 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการรับประทาน Riovida                            

รูปที่ 1. เปรียบเทียบปริมาณของสารภาวะออกซิเดทีฟสเตรท ชนิดต่างๆ   (ก) MDA (ข) NOx, (ค) TEAC และ  (ง) ปริมาณ IL-2 ระหว่างขณะพัก (resting) ในช่วงควบคุม (control period) และหลังที่ได้รับรับประทาน Riovida ไปแล้ว 2 สัปดาห์ (After supplementation)    

สรุปผลการศึกษา 

  • 1. การใช้ Riovida สามารถช่วยป้องกันภาวะออกซิเดเทฟสเตรส โดยสามารถป้องกันไขมันเสียที่จะเกิดขึ้น (Malondialdehyde) และลดปริมาณของอนุมูลชนิดไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ในร่างกายได้


  • 2. การใช้ Riovida สามารถช่วยเพิ่มฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (Total antioxidant capacity) ในร่างกาย ในร่างกายคนได้


  • 3. การใช้ Riovida ในช่วง 2 สัปดาห์ สามารถกระตุ้นให้มีระดับของ Interleukin-2 (IL-2) ในร่างกายให้สูงขึ้นได้ 

 

เอกสารอ้างอิง

ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription. 6th ed. Philadelphi. Lippincott Williams and Wilkins. 2004.

Ariga T. The antioxidative function, preventive action on disease and utilization of proanthocyanidins. Biofactors 2004; 21: 197-201.

Armstrong RB, Warren GL, Warren JA. Mechanisms of exercise-induced muscle fibre injury. Sports Med 1991: 12; 184-207.

Davies K.J.A. Free Radical and Oxidative stress: Environment, Drugs and Food Addition. London : Portland Press, 1995

Endo T, Imaizumi T, Tagawa T, Shiramoto M, Anso S, Takeshita A. Role of nitric oxide in exercise-induced vosodilation of the forearm. Circulation 1994; 90: 1886-2890.

Fang Z, Zhang Y, Lu Ym Ma G, Chen J, Liu D, Ye X. Phenolic compounds and antioxidant capacities of bayberry juices. Food Chem 2009; 113: 884-888.

Giuliani A, Cestaro BB. Exercise, Free radical generation and vitamin. Eur Cand Pre 1997: 6; 355-67.

      Guo C, Wei J, Yang J, Xu J, Pang W, Jiang Y. Pomegranate juice is potentially better than apple juice in improving antioxidant function in elderly subjects. Nutr Res 2008; 28: 72-77.

Sacheck JM, Milbury PE, Cannon JG, Roubenoff R, Blumberg JB. Effect of vitamin E and eccentric exercise on selected biomarkers of oxidative stress in young and elderly men. Free Radic Bio Medicine 2003; 34: 1575-1588.

Schoen C, Schulz A, Schweikert J, Schutt S, Baehr Vv. Regulatory effects of a fermented food concentrate on immune function parameters in healthy volunteers. Nutrition 2009: 25: 499-505.

Seeram NP, Adams LS, Henning SM, Niu Y, Zhang Y, Nair MG, Heber D. In vitro antiproliferative, apoptotic and antioxidant activities of punicalagin, ellagic acid and a total pomegranate tannin extract are enhanced in combination with other polyphenols as found in pomegranate juice. J Nutr Biochem 2005; 16: 360-367.

Seeram NP. Berry fruits: compositional elements, biochemical activities, and the impact of their intake on human health, performance, and disease. J Agric Food Chem. 2008: 13; 56: 627-9

Sjodin G, Rosenqvisr M, Kriegholm E, Nordenstrom J, Bjorkhem I. Verapamil increases serum alkaline phosphatase in hypertensive patients, J Intern Med 1990: 228: 339-42.

Yagi K. Lipid Peroxide and Exercise Med Sci Sport Sci; 21: 37-40, 1992.

Zhendong Zhang, Lei Zhang, Jing Xu. The effects of different exercise training mode on interleukin. LANCET 2007: 4(3): 82-86.

Re R, Pellegrini N, Proteggente A, Pannala A, Yand M, Rice-Evans C. Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay. Free Radic Bio Med 1999; 26: 1231-1237.

Jun HS, Santamaria P, Lim HM, Zhang ML, Yoon JW. Absolute requirement of macrophages for the development and activation of beta-cell cytotoxic CD+8 T-cells in T cell receptor transgenic NOD mice. Diabetes 1999; 48: 34-42.

Chirico S. High-performance liquid chromatography ased thiobarbituric acid tests. Methods Enzymol 1994; 233: 314-318.

Griess reagent system; Instructions for use of product G2930. Technical bulletin. Promega. Printed in USA. Revised 6/05. Part# TB229. Avalible; www.promega.com.

Rosario L, Cristina M, Fabrizio P, Pasqualina B, Giovannangelo O, Garmine F, Franco C, Lucia S. The mtDNA 15497 G/A polymorphism in cytochrome b in severe obese subjects from southern Italy. NMCD 2006; 16: 466-470.

Sofian J, Alison CC, Anilkumar N, David JG, Ajay MS. Aldosterone mediates angiotension II-induced interstitial cardiac fibrosis via a Nox2-containing NADPH oxidase. The FASEB 2006; 20: 1546-1548.

 

Tags : Transfer Factor Riovida Transfer Factor อนุมูลอิสระ ต้านอนุมูลอิสระ น้ำทับทิม น้ำเบอรี่ ผลวิจัย ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ริโอวิด้า อินเตอร์ลิวคิน-ทู interleukin 2 IL-2 cd4 

view

 หน้าแรก 4Life

สินค้า 4Life

 ติดต่อเรา

view